เครื่องกรองน้ำ
" ใน 1 วันเราควรดื่มน้ำให้ได้ 6-8 แก้ว" เป็นประโยคที่ฟังดูคุ้นหูมากๆ ใช่ไหมค่ะ ซึ่งน้ำที่เราดื่มกันอยู่ทุกวันส่วนใหญ่ก็จะมาจากเครื่องกรองน้ำที่มีติด ตั้งกันอยู่แทบจะทุกครัวเรือนก็ว่าได้ แต่เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าน้ำที่เราดื่มเป็นน้ำที่สะอาดจริง แล้วผ่านขั้นตอนการกรองอะไรมาบ้าง วันนี้ able มีรายละเอียดพื้นฐานมาเล่าสู่กันฟังค่ะ
มาเริ่มกันที่ไส้กรองก่อนเลยนะค่ะ โดยไส้กรองที่จะนำมาบอกกันในวันนี้เป็นไส้กรองพื้นฐานที่ส่วนใหญ่จะใช้กันอยู่ทั่วไปค่ะ
ไส้กรองหยาบ
ไส้หยาบกรอง PP ทำหน้าที่ในการดักจับสารแขวนลอยเศษผงขนาดใหญ่ที่ปนเปื้อนมากับน้ำ เช่น หิน กรวด ทราย เศษสนิม ผงฝุ่นต่างๆ
ไส้กรองโฟลิเมอร์ (PE)
ไส้กรองโพลีเอทธิลีน Polythylene (PE Filter) หรือที่เรียกกันว่าไส้กรองละเอียด 0.3 ไมครอน ทำหน้าที่ในการกรองสารแขวนลอย เชื้อแบคทีเรีย ที่ปนเปื้อนมากับน้ำ
ไส้กรองคาร์บอน
ไส้ กรองแอคติเวทคาร์บอน ความละเอียดมีทั้ง 0.3 และ 0.5 ไมครอน ขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อ ช่วยทำหน้าที่ในการดูดจับสี สารเคมี และโลหะหนักต่างๆ เช่น ตะกั่ว ปรอท เงิน ทองแดง ยาฆ่าแมลง ผงซักฟอก สารฟีมอล สารไฮโดรคาร์บอน (สารก่อมะเร็ง) รวมทั้งช่วยกำจัดกลิ่นของสารคลอรีนที่ตกค้างอยู่ในน้ำอีกด้วย
ไส้กรองเรซิ่น
ทำหน้าที่ในการกรองสารจำพวกหินปูน สนิม และสารโลหะหนัก เช่น แคตเมี่ยม ฯลฯ ทั้งยังช่วยลดความกระด้างของน้ำให้น้อยลง
ไส้กรอง Post Carbon
ทำหน้าที่กำจัดกลิ่น สี และปรับรสชาติของน้ำให้มีดีขึ้น นุ่มขึ้น ไม่กระด้าง
ไส้กรอง MEMBRANE
ไส้ กรองที่มีความละเอียดในการกรองถึง 0.0001 ไมครอน ถือว่าเป็นตัวกรองสำคัญของระบบ R.O. ทำหน้าที่ในการแยกสิ่งสกปรกและช่วยกรองสารละลาย สารปนเปื้อนที่มีขนาดเล็กมากไม่สามารถมองเห็นได้ในน้ำ รวมถึงเชื้อโรคต่างๆ ที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น เชื้อแบคทีเรีย จุลินทรีย์ ไวรัส โดยสามารถแยกสารปนเปื้อนออกได้เกือบ 100%
หลอด UV (Ultraviolet)
ทำหน้าที่ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และเชื้อโรคต่างที่ยังหลงเหลืออยู่ในน้ำด้วยแสงอัลตร้าไวโอเลต
ลำดับขั้นในการกรอง
เครื่องกรองน้ำ (น้ำประปา) แบบ 3 ขั้นตอน จะมีไส้กรองน้ำที่ใช้กรองในแต่ละขั้นตอน ดังนี้คือ
ขั้นที่ 1
ไส้กรองโฟลิเมอร์
ขั้นที่ 2
ไส้กรองคาร์บอน
ขั้นที่ 3
ไส้กรองเรซิ่น
แต่ในบางยี่ห้อก็จะใช้ไส้กรองเรซิ่นเป็นตัวกรองลำดับสองและใช้ไส้กรองคาร์บอนเป็นตัวกรองลำดับสามก็ได้
เครื่องกรองน้ำ (น้ำบาดาล) มักจะใช้ไส้กรองหยาบเป็นตัวกรองลำดับแรกดังขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1
ไส้กรองหยาบ
ขั้นที่ 2
ไส้กรองโฟลิเมอร์
ขั้นที่ 3
ไส้กรองคาร์บอน
ขั้นที่ 4
ไส้กรองเรซิ่น
เครื่องกรองน้ำแบบ 4 ขั้นตอน
ขั้นที่ 1
ไส้กรองโฟลิเมอร์
ขั้นที่ 2
ไส้กรองคาร์บอน
ขั้นที่ 3
ไส้กรองเรซิ่น
ขั้นที่ 4
ไส้กรอง Post Carbon
เครื่องกรองน้ำระบบยูวี
ขั้นที่ 1
ไส้กรองโฟลิเมอร์
ขั้นที่ 2
ไส้กรองคาร์บอน
ขั้นที่ 3
ไส้กรองเรซิ่น
ขั้นที่ 4
หลอด UV
เครื่องกรองน้ำระบบยูวีนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย คือ
ข้อดี
ช่วยฆ่าเชื้อโรคต่างๆ ที่ยังคงหลงเหลือมากับน้ำ ช่วยให้ผู้บริโภคได้น้ำดื่มที่สะอาดเพิ่มมากขึ้น และยังมีแร่ธาตุในน้ำหลงเหลืออยู่
ข้อเสีย
การ ฆ่าเชื้อโรคด้วยแสงอัลตร้าไวโอเลตไม่ได้ทำให้เชื้อโรคทุกตัวที่ปนเปื้อนอยู่ ในน้ำตายลงทั้งหมด 100% แต่ยังคงมีเชื้อโรคที่หลงเหลืออยุ่บ้างและสิ้นเปลืองไฟฟ้า
เครื่องกรองน้ำระบบ RO (Reverse Osmosis) มีขั้นตอนการกรอง ดังนี้
ขั้นที่ 1
ไส้กรองหยาบ
ขั้นที่ 2
ไส้กรองคาร์บอน
ขั้นที่ 3
ไส้กรองเรซิ่น
ขั้นที่ 4
ไส้กรอง Membrane
ขั้นที่ 5 ไส้กรอง Post Carbon
เครื่องกรองน้ำระบบ RO มีทั้งข้อดี และข้อเสีย คือ
ข้อดี
เป็นระบบการกรองที่ให้น้ำสะอาด และบริสุทธิ์ที่สุดเกือบ 100%
ข้อเสีย
ไม่มีแร่ธาตุหลงเหลืออยู่ในน้ำแล้ว และมีน้ำเสียที่ถูกทิ้งจากการกรองมากถึง 50% บางแห่งถ้าแรงดันน้ำไม่ดีอาจต้องเสียน้ำทิ้งถึง 70%
ข้อควรคำนึงในการเลือกซื้อเครื่องกรองน้ำ
1.สภาพน้ำ
ดู ว่าสภาพของน้ำที่เราใช้อยู่เป็นน้ำประปา น้ำบาดาล หรือน้ำกร่อย เพราะสภาพน้ำถือเป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจเลือกซื้อ เนื่องจากเครื่องกรองน้ำมักจะถูกออกแบบมาเพื่อให้มีไส้กรองและการลำดับการ กรองที่เหมาะสมกับสภาพของน้ำในแต่ละประเภท
2.อะไหล่
ดู ว่าชนิดหรือประเภทของไส้กรองที่ใช้สามารถหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดทั่วไป หรือไม่ หรือมีบริการเปลี่ยนไส้กรองถึงบ้านพร้อมตรวนเช็คคุณภาพน้ำให้ด้วยหรือไม่
3.การรับประกัน
โดย ทั่วไปการรับประกันของเครื่องกรองน้ำจะอยู่ที่ 1-2 ปี ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัท แต่จะเป็นการรับประกันเฉพาะอะไหล่ ตัวไส้กรองจะไม่มีการรับประกันอยู่แล้ว
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น